มารู้จักการ Compress ไฟล์รูปภาพ เพื่อใช้บนเว็บไซท์กัน

ในปัจจุบัน แม้ว่า เทคโนโลยีทางความเร็วของการใช้งานอินเตอร์เน็ตจะสูงขึ้นมาก การเข้าถึงเว็บไซท์แต่ละที่ทำได้อย่างรวดเร็ว และ ตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างดี

สิ่งที่ผมจะมาแนะนำนั้น เป็นเทคนิคของการทำเว็บไซท์ให้เร็วขึ้น ซึ่งมีหลาย ๆ เรื่องในการทำให้เว็บเราเร็วขึ้นได้ หนึ่งในนั้นคือ การ reduce ไฟล์รูปภาพ คือ ทำให้ขนาดของรูปภาพเล็กที่สุดเท่าที่จะเล็กได้ อ่านให้ดีนะครับ ขนาดของไฟล์ ไม่ใช่ ขนาดของรูป นะครับ ซึ่งวิธีการที่จะนำมาใช้ก็มีหลากหลายวิธีอีกเช่นกัน เราเรียกรวมรวม ๆ ว่า การ Compress and optimize images for website

ก่อนอื่นมารู้จักศัพท์ของการทำ compress ก่อนว่าแตกต่างกันยังไง ในปัจจุบัน การทำ compress นั้นมีอยู่ 3 รูปแบบดังนี้
1. Lossy compression
2. Glossy Compression
3. Lossless Compression

แล้วแบบไหนล่ะที่ดีที่สุดสำหรับเราในการเลือกใช้ ก็ให้ข้อมูลตามนี้ครับ

Lossy compression
Lossy เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ส่วนใหญ่ รูปภาพที่ประมวลผลด้วยอัลกอริธึมการสูญเสียเป็นภาพที่เล็กที่สุดที่คุณจะได้รับ ดังนั้นหากความเร็วของเว็บไซต์ของคุณเป็นสิ่งสำคัญและคุณต้องการความสมดุลที่ดีที่สุดระหว่างการปรับให้เหมาะสมและคุณภาพของภาพเราขอแนะนำให้คุณใช้การเพิ่มประสิทธิภาพที่สูญเสียไปต่อไป

Glossy Compression
Glossy เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด หากคุณกังวลเรื่อง Google Insights แต่คุณเชื่อว่าการสูญเสียความเร็วของหน้าเว็บเล็กน้อยนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้สำหรับคุณภาพของภาพที่ดีที่สุด

Lossless Compression
ภาพที่ปรับให้เหมาะสมแบบไม่สูญเสียนั้นมีขนาดพิกเซลต่อพิกเซลเหมือนกันกับต้นฉบับ แต่มีขนาดเล็กลงเมื่อเปรียบเทียบกับไฟล์ที่ประมวลผลแบบ Lossy หรือ Glossy หากคุณต้องการให้ภาพของคุณไม่ถูกแตะต้องให้เลือกตัวเลือกนี้

ทางเลือกในการ compress image นั้นมีหลากหลายวิธี ตัวผมเองผมใช้ tools ตัวนึง รันบน windows ชื่อว่า RIOT เป็น free tools ที่โหลดมาติดตั้งบนเครื่องใช้งานได้สะดวกดีครับ ค่อนข้างอัตโนมัติดี ส่วนอีกทางเลือกก็ต้อง online compress ซิครับ แนะนำที่นี่ ผมถือว่า ดีพอใช้ได้ https://shortpixel.com/online-image-compression ง่ายและสะดวก มีให้เลือกใช้ครับผม

ส่วนใครที่ใช้ wordpress เป็นเครื่องมือทำเว็บ ก็แนะนำ plugin ตัวนี้ครับ https://wordpress.org/plugins/shortpixel-image-optimiser/ ของเจ้าเดียวกัน

AWS Amazon คืออะไร คือ Infrastructure ที่ง่ายแค่คลิก

จากประสบการณ์ที่ได้ใช้งานมานานระดับหนึ่งในงาน production (ตั้งแต่รุ่นมี sale ของไทยคนเดียว นั่งประจำที่ Singapore) ก็เลยคิดว่าเอามาเล่าสู่กันฟังดีกว่า เพราะเชื่อว่าคนอีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังไม่รู้จัก AWS อย่างแน่นอน

AWS คือ Server ที่จัดการได้ง่ายไม่กี่คลิก
ให้นึกภาพง่ายๆซะว่ามันคือ VMWare , VirtualBox นั่นล่ะครับ คือมันสามารถสร้าง OS ใหม่จาก machine เดิมได้เรื่อยๆ แต่ความยิ่งใหญ่ของมันก็คือ สามารถสร้างเพิ่มได้ไม่จำกัด เพราะว่าทรัพยากรที่เค้ามีให้ใช้มหาศาลมาก ดังนั้นจะสร้างกี่ Windows กี่ Linux ก็สร้างไปได้เรื่อยๆ ตราบใดที่เรามีเงินจ่าย

จ่ายเงินเท่ากับที่ใช้จริง ปิดเครื่องไม่คิด
โลกต้องตะลึงไปครั้งหนึ่ง เพราะว่า AWS เค้าจะเก็บเงินเรา เฉพาะยามที่เรา boot มันขึ้นมาทำงานเท่านั้น เมื่อเรา shutdown เค้าจะไม่คิดเงินเรา (กรณีที่ไม่ได้แยก storage EBS ออกมาจาก EC2 นะ) ดังนั้น ใช้เยอะจ่ายเยอะ ไม่ได้ใช้ก็ไม่ต้องจ่าย

AWS มีมากกว่า server
คือนอกเราเราจะเข้าไปสร้าง server ใหม่ได้แล้วเนี่ย เราสามารถสร้างสิ่งอื่นๆได้อีกมากมาย เช่น สร้าง database ขึ้นมาใช้งานโดยไม่ต้องติดตั้ง OS แล้วติดตั้ง database อะไรเลย หรือว่า สร้าง Firewall ขึ้นมา หรือสร้าง switch เองยังได้ แค่คลิกๆกรอกๆเท่านั้นเอง

คนชอบเรียกมันว่า Cloud
ผมไม่พูดถึง cloud แล้วกัน แต่แน่นอนว่า มันคือ cloud นั่นล่ะครับ เพราะเราเอาข้อมูลเราขึ้นไปเก็บที่ไหนก็ไม่รู้ใน internet และให้มันทำงานกันข้อมูลตรงนั้นเลย (คนไทยส่วนใหญ่จะใช้ AWS ที่ Singapore เพราะว่าเป็นจุดที่ใกล้ประเทศไทยที่สุดแล้ว) แน่นอนว่า เรียก AWS Cloud ได้

AWS ทำงานแยกจาก Amazon อย่างชัดเจน
คือต้องบอกว่า AWS เมื่อก่อนเป็นหน่วยงานหนึ่งของ Amazon นี่แหล่ะ แต่ว่าต่อมาก็แยกออกมาตั้งบริษัท และบริหารงานค่อนข้างอิสระ การเติบโตก็ค่อนข้างสูงมากต่อเนื่องทุกๆปี แต่ว่า การทำงานต่างๆค่อนข้างแยกกันกันเกือบสิ้นเชิง

มันจะมาแทน server physical
AWS เค้าบอกว่า สิ่งที่กลัวที่สุดในอนาคตก็คือ ยังคงซื้อเครื่อง server กันอยู่นี่แหล่ะ เพราะว่า ตอนนี้ เราสามารถเริ่มต้นสร้าง Application และ deploy งานลง AWS ได้โดยที่เราไม่ต้องมีความรู้เรื่อง server infrastructure มากเลย อีกทั้ง ไม่ต้องใช้เงินลงทุนด้วย เพราะว่าหลาย project รันอยู่ไม่นาน เมื่อเราสร้างขึ้นมารันงานหนึ่งๆจนจบแล้วเราก็ปิดไป บางงานอาจจะต้องใช้ server ราคาหลายล้านบาท แต่ว่า ใช้ EC2 อาจจะจ่ายเพียงไม่กี่แสนบาท แล้วเมื่อเลิกใช้ก็ปิดหมด ก็จบกันไป ไม่ต้องลงทุนเป็นล้านบาทเป็นต้น

ถ้าใช้เป็น จะได้ประโยชน์มาก
เครื่องมือเค้ามีให้เราใช้งานมากมาย ถ้าเราหยิบมาใช้ให้เป็น จะเป็นประโยชน์กับเรามาก เนื่องจาก หลายเครื่องมือจะทุ่นแรง และประหยัดเงินเราไปได้เยอะมาก ตัวอย่าง เราสามารถใช้ https wildcard กับโดเมนเราได้เลย โดยที่เราใส่เข้าไปพร้อมกับการใช้งาน ELB นั่นเอง และฟรีในส่วนของ SSL อีกด้วย หรือว่าการเปิด Redis ขึ้นมาใช้งานโดยไม่ต้องติดตั้งอะไรเลย การ backup/restore ก็ง่ายมาก

คู่แข่ง AWS
ที่แน่ๆ และเป็นเจ้าใหญ่ๆ ก็คือ Google Cloud, Microsoft Azure ที่เป็นเจ้าใหญ่และชนกันตรงๆอย่างชัดเจน รวมถึงมี product ที่ไม่ได้แตกต่างกันมากจาก AWS อีกด้วย ส่วนเจ้าอื่นที่ต่างกันไปหน่อยก็จะเป็น Digital Ocean เจ้านี้ก็จะต่างกันไป คือเน้นไปที่ VPS อย่างเดียวเลย ไม่ได้มี service อื่นๆมารองรับการใช้งานเท่าไร

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://beyourcyber.com/2016/what-is-aws-amazon-is-easy-infrastructure/